ประวัติโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย



มงฟอร์ตโรงเรียนที่เรารัก
ขอสมัครรักจนชีพสลาย
อันนามนี้ ปักอยู่มิรู้คลาย
ดังเครื่องหมายประทับบนดวงใจ





นักบวชในมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
นักบวชในคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีเฉพาะนักบวชชายเท่านั้น เรียกกันทั่วไปว่า "บราเดอร" (BROTHER) หรือ "ภราดา" ในภาษาไทย บราเดอร์ทุกคนมีศีล เป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่
  1. การถือความยากจน (Poverty) คือ ไม่เป็นเจ้าของในทรัพย์สิน มีความประหยัดและความอดทนต่อความเป็นอยู่
  2. การถือศีลพรหมจารี (Chastity) คือ รักษาความบริสุทธิ์ ไม่มีครอบครัว
  3. การถือความนบนอบ (Obedience) คือ เชื่อฟังผู้ใหญ่ถือเสมือนเป็นตัวแทนของ พระผู้เป็นเจ้า เป็นการมอบกายถวายชีวิตต่อพระเจ้า ไม่ย่อท้อต่อหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมาย สละตัวเองทำงานเพื่อมวลมนุษย์ และพระผู้เป็นเจ้า

ภาพรวมของโรงเรียน (School Profile)

ประวัติความเป็นมา

ประวัติคณะเซนต์คาเบรียล ในประเทศไทย
นักบุญ หลุยส์ มารี กรียอง เดอมงฟอร์ต เกิดที่ตำบลมงฟอร์ต ประเทศฝรั่งเศส ท่านรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ใน ปี พ.ศ.2243 และสิ้นชีวิตในปี พ.ศ. 2255 เป็นที่รู้จักทั่วไปในนาม "คุณพ่อ มงฟอร์ต"
ตลอดเวลา 16 ปีแห่งชีวิตงาน ท่านเด็ดเดี่ยวมานะมุ่งนำวิญญาณมนุษย์ไปสู่สวรรค์ ตัวอย่างที่ท่านเทศน์สอน รับใช้คนเจ็บป่วยและคนยากจน ได้ดลใจผู้สืบสานงานขึ้น 2 กลุ่ม คือ สงฆ์คณะ ข้าบริการพระแม่มารี และภคินีคณะธิดาพระปรีชาญาณ
เพื่อให้เยาวชนและคนด้อยโอกาสได้เข้าสวรรค์โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาคุณพ่อ มงฟอร์ตได้เปิดโรงเรียนขึ้นใน ปีพ.ศ.2257 โดยให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ติดตามกลุ่มที่ 3 คือ คณะภราดา ซึ่งต่อมาภายหลังได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล” คณะภราดา จัดการศึกษาที่เน้นคติธรรมแห่งชีวิตของคุณพ่อ มงฟอร์ต "God Alone” แปลว่า "พระเจ้าเท่านั้น” (พระเจ้าเท่านั้น = สัจธรรม หรือ ความรักสากล)

ยุคที่ 1 ยุคมิชชั่นนารีจากประเทศฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 2420 : คุณพ่อ กอลอมเบต์ พระสงฆ์คณะ MEP จากปารีส ได้เปิดโรงเรียนฝรั่งเศสสยาม สำหรับเด็กกำพร้า มีนักเรียน 12 คน
ปี พ.ศ. 2428 : คุณพ่อ กอลอมเบต์ (Pere Emaile Colombet) เปิดโรงเรียนอัญสัมชัญอย่างเป็นทางการ เริ่มแรกมีนักเรียน 33 คน และตอนสิ้นปีมีเด็กนักเรียน 75 คน
ปี พ.ศ. 2443 : โรงเรียนอัสสัมชัญมีนักเรียนทั้งหมด 400 คน
ปี พ.ศ. 2444 : คณะภราดารุ่นแรกเดินทางมายังประเทศไทย ประกอบด้วยชาวฝรั่งเศสจากแขวงภาคกลาง 4 ท่าน คือ ภราดาอาแบล, กาเบรียล เฟเรอตี, ฮีแลร์ และมาร์ติน เดอตรูส์ ภราดาจากแคนนาดา 1 ท่านคือ ภราดาออกุสตี
ปี พ.ศ. 2445 : มีภราดามาเพิ่มอีก 4 คน และรับดำเนินกิจการของโรงเรียนอัสสัมชัญ
ปี พ.ศ. 2456 : มีภราดาในประเทศไทย 29 คน ภราดาส่วนมากมักจะเสียชีวิตลงทั้งยังหนุ่มๆ เนื่องจากต้องพบกับอุปสรรคต่าง ๆ เช่น การไม่ชินกับอากาศ อาหาร และน้ำดื่ม
ปี พ.ศ. 2458 : มีนักเรียนครบ 1,000 คน และเพิ่มเป็น 2,000 คน ในปี พ.ศ. 2463โดยการสอนจะเน้นไปที่ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ เป็นสำคัญซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับประเทศชาติในขณะนั้น

ยุคที่ 2 ยุคมิชชั่นนารีจากประเทศสเปน
ปี พ.ศ. 2463 – 2480 : ยุคของคณะภราดาที่มาจากประเทศสเปน ซึ่งมีทั้งหมด 25 ท่าน
ปี พ.ศ. 2463 : ก่อตั้งโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ที่สามเสน และโรงเรียนเซนต์ปอล ที่อำเภอแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา (ในปีพ.ศ.2484 โรงเรียนเซนต์ปอล ถูกปิด เนื่องจากกระแสลัทธิชาตินิยม)
ปี พ.ศ. 2475 : ภราดาไมเคิล และภราดาฮีแลร์ ก่อตั้งโรงเรียนมงฟอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ ใน 10 ปี แรก จำนวนนักเรียน ไม่เคยเกิน 200 คน
ปี พ.ศ. 2476 : ภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ และ คุณพ่อกอลอมเบต์ เสียชีวิตอย่างสงบ
ปี พ.ศ. 2482 : ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการเพื่อให้พร้อมรับการขยายตัวทางธุรกิจ

ยุคที่ 3 ช่วงสงครามในเอเชีย
ปี พ.ศ. 2482 – 2488 : เกิดสงครามในเอเชีย ทำให้ภราดาชาวฝรั่งเศส 13 ท่าน ต้องออกจาก ประเทศไทยไปอยู่ที่อินเดีย
ปี พ.ศ. 2487 : ภราดาเฟเดอริค–ยาง เปิดโรงเรียนประจำที่ศรีราชา เริ่มต้นมีเด็กประจำ 83 คน ไปกลับ 34 คน

ยุคที่ 4 ยุคหลังสงคราม
ปี พ.ศ. 2491 : คณะภราดาเปลี่ยนสถานะเป็นแขวง เจ้าคณะแขวงประเทศไทยคนแรก คือ ภราดาฮูเบิร์ต ชาวฝรั่งเศส มีภราดาทั้งหมด 30 ท่าน (ฝรั่งเศส 15 ท่าน สเปน 9 ท่าน และไทย 6 ท่าน) : เปิดโรงเรียนเซนต์หลุยส์ (แปดริ้ว) ฉะเชิงเทรา
ปี พ.ศ. 2501 – 2510 : ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญใหม่อีก 5 แห่งคือ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง (2501) โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี (2504) โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง (2506) โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี (2508) และโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา (2510)
ปี พ.ศ. 2512 : ภราดาเบอร์นาร์ด แมรี่ (ชาวอินเดีย) ได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนสอนบริหารธุรกิจ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็น Assumption Business Administration College (ABAC)
ปี พ.ศ. 2533 : ABAC ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ปี พ.ศ. 2541 : ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญใหม่อีก 1 แห่งคือ โรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิค-นครพนม
ปัจจุบัน : มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีจำนวนโรงเรียน ทั้งหมด 13 โรง และ มหาวิทยาลัย 1 แห่ง
โรงเรียน :
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มี 5 โรง ได้แก่ อัสสัมชัญกรุงเทพ เซนต์คาเบรียล อัสสัมชัญพาณิชยการ อัสสัมชัญธนบุรี และ อัสสัมชัญสมุทรปราการ
ภาคตะวันออก มี 3 โรง ได้แก่ อัสสัมชัญศรีราชา เซนต์หลุยส์ และอัสสัมชัญระยอง
ภาคอีสาน มี 3 โรง ได้แก่ อัสสัมชัญนครราชสีมา อัสสัมชัญอุบลราชธานี และอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม
ภาคเหนือ มี 2 โรง ได้แก่ มงฟอร์ตวิทยาลัย และอัสสัมชัญลำปาง

มหาวิทยาลัย : - มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 
พ.ศ. 2475 : ปีที่ก่อตั้งโรงเรียนมงฟอร์ต
คณะภราดาเซนต์คาเบรียลได้มาก่อตั้งโรงเรียนมงฟอร์ต วิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนองความของท่านมุขนายกแปรอส ซึ่งเป็นผู้จัดหาที่ดินให้พร้อมทั้งให้ยืมเงินเพื่อใช้ในการก่อสร้าง โดยไม่คิดดอกเบี้ย
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเปิดทำการสอนเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2475 (ค.ศ. 1932) โดยมี คุณพ่อ เรอเนเมอนีเอร์ เป็นผู้จัดการ และท่านภราดาซีเมออนเป็นอธิการคนแรก ภราดาเอมโบรซิโอเป็นรองอธิการ และมีภราดาหลุยส์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
อาคารเรียน บนเนื้อที่ ที่ซื้อจากหลวงอนุสารสุนทร ซึ่งอยู่ห่างจากโบสถ์พระหฤทัย ไปทางทิศใต้ราว 200 เมตร



 
พ.ศ. 2476 : ย้ายโรงเรียน
ได้ย้ายนักเรียนมาเรียนในที่แห่งใหม่ บนอาคารเรียน 2 ชั้น ยาว 46 เมตร เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2476ขณะนั้นโรงเรียนมีพื้นที่ 12 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา ทิศตะวันออกติดลำน้ำปิง ทิศตะวันตกติดถนนเจริญประเทศ มีสนามฟุตบอลอยู่หน้า อาคารอำนวยการ และมีอนุสาวรีย์นักบุญหลุยส์ มงฟอร์ต ผู้สถาปนาภราดาคณะเซนต์คาเบรียลอยู่ระหว่างอาคารทั้งสอง มีนักเรียนเริ่มแรกจำนวน 116 คน



 
พ.ศ. 2489 : รับรองวิทยฐานะ
พ.ศ. 2492 : เปิดชั้นเรียนเพิ่ม
ปี พ.ศ. 2478 ท่านภราดาเกลเมนต์เป็นอธิการในตอนนั้นได้ยื่นคำร้องขอให้กระทรวงรับรองวิทยฐานะ แต่เวลานั้นบ้านเมืองตกอยู่ภาวะสงคราม จึงถูกระงับไป จนถึง พ.ศ. 2489 ภราดาเซราฟิน มาดำรงตำแหน่งอธิการได้ยื่นเรื่องขอไปใหม่ ทางกระทรวงฯ จึงได้รับรองวิทยฐานะให้ทางโรงเรียนเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2490 ขณะนั้นมีจำนวนนักเรียน 400 คน
ในปีการศึกษา 2492ทางโรงเรียนได้เปิดแผนกมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่าขั้น "เตรียมอุดมศึกษา"



   พ.ศ. 2496 - พ.ศ. 2500 : สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม
ในปี พ.ศ. 2496 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน เป็นอาคาร 2 ชั้น จำนวน 8 ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นที่เก็บรถจักรยานของนักเรียน อาคารเรียนหลังนี้มีชื่อว่า อาคารมารีย์
ในปี พ.ศ. 2500 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารเพิ่มเติมขึ้นอีก เป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นห้อง ประชุมชั้นล่างเป็นห้องทำงานของครู ชั้น 2 และ 3 เป็นห้องเรียน อาคารเรียนหลังนี้มีชื่อว่า
อาคารมงฟอร์ต



 
พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2506 : ขยายพื้นที่
ปี พ.ศ. 2502 โรงเรียนได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมทางทิศใต้ ขนาด 3 งาน 30 ตารางวา
ปี พ.ศ. 2502 โรงเรียนได้ซื้อที่ดินติดกับด้านทิศเหนือเพื่อขยายพื้นที่อีก 4 ไร่



พ.ศ. 2513 : ย้ายแผนกประถม
พ.ศ. 2516 : สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม
ปี พ.ศ. 2513 ทางโรงเรียนได้แบ่งนักเรียนแผนกประถม และแผนกมัธยม โดย ย้ายแผนกประถมไปอยู่ที่ถนนช้างคลาน บนพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ และได้สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1- 7 (ขณะนั้น)
ปีพ.ศ. 2516 สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม ได้สร้างอาคารเพิ่มเติม เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 และ 2



 
พ.ศ. 2518 : รับนักเรียนหญิง
พ.ศ. 2522 : สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม
ปี พ.ศ. 2518 ทางโรงเรียนเริ่มจัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา โดยรับนักเรียนหญิงเข้าศึกษาต่อร่วมกับนักเรียนชาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนมัธยมศึกษาตอนต้นยังคงรับเฉพาะนักเรียนชาย
ปีพ.ศ. 2522 ทางโรงเรียนได้รื้ออาคารเรียนหลังแรกสุดเพราะชำรุด และได้สร้างอาคารใหม่ 4 ชั้นขึ้น โดยขยายพื้นที่ทางด้านหลังอาคารเรียนหลังเดิม
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานนามอาคารเรียนหลังนี้ว่า สามัคคีนฤมิต




   พ.ศ. 2527 : ย้ายโรงเรียน
   พ.ศ.2528 : ย้ายแผนกประถม
   ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นเจ้าภาพเลี้ยงฉลอง
ในปี พ.ศ. 2527 ทางโรงเรียนแผนกมัธยมได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งในที่แห่งใหม่ บนถนนมหิดล ต. ท่าศาลา ใกล้กับโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย มีเนื้อที่ 52 ไร่ และเปิดเรียนในปีการศึกษา 2528 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2528 ได้ย้ายโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม กลับมายังถนนเจริญประเทศ และย้ายแผนกมัธยมมายังบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน โดยรับนักเรียนตั้งแต่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น รับเฉพาะ นักเรียนชาย ส่วนในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา (รับทั้งนักเรียนหญิงและชาย)
เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2528 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นเจ้าภาพ เลี้ยงฉลองแสดงความยินดีในโอกาสที่วงโยธวาฑิตของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขัน ดุริยางค์นานาชาติ ณ เมือง Kerkrade ประเทศเนเธอร์แลนด์



 
พ.ศ. 2529 : เปิดแผนกมัธยม
วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานเปิดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม อย่างเป็นทางการ



พ.ศ.2530 : รับรางวัลร.ร.พระราชทานระดับประถมศึกษา
พ.ศ. 2530 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกประถม ได้รับรางวัล โรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่




 
  พ.ศ.2532 : รับรางวัลร.ร.พระราชทานระดับมัธยมศึกษา
พ.ศ. 2532 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่



 
พ.ศ. 2533 : งานวันวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา ทรงเป็นองค์ประธานงานวันวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน ณ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม



 
พ.ศ. 2536 : ฉลอง60 ปี/อุทยานการศึกษา/ห้องสมุดดีเด่น
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานเปิดอาคารเรียนเอ็มมานูเอล ณ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม เพื่อฉลองครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งโรงเรียน
ปีเดียวกันนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ประกาศให้ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยมเป็นโรงเรียนอุทยานการศึกษาของจังหวัด
พระราชทานบัตรประกาศเกียรติคุณให้แก่ห้องสมุดของโรงเรียนในฐานะเป็น ห้องสมุดซึ่งมีผลงานดีเด่นประจำปี



พ.ศ.2537 : รับรางวัล ร.ร.พระราชทานระดับประถมศึกษา
พ.ศ. 2537 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกประถม ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ (ครั้งที่ 2)


 
   พ.ศ. 2540 : รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรการบรรเลงดนตรี โดยวงดุริยางค์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนพระหฤทัย และโรงเรียน อัสสัมชัญ ลำปาง ณ โรงเรียน มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม



 
   พ.ศ. 2541 : วงดุริยางค์เดินทางไปแสดงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
วงดุริยางค์ของโรงเรียนเข้าร่วมขบวนพาเหรดใน งาน Magic Music Day ที่ Disneyland เมือง Anaheim, California ประเทศสหรัฐอเมริกวงดุริยางค์ของโรงเรียนได้แสดงคอนเสิร์ต และเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ณ วัดไทยในลอสแองเจลิส เมือง Hollywood, California สหรัฐอเมริกา
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 วงดุริยางค์ของโรงเรียน ได้รับเลือกจากองค์กร Pasadena Tournament of Roses ให้เข้าร่วมบรรเลงในงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ Rose Parade ครั้งที่109 ณ เมือง Pasadena รัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา



 
พ.ศ. 2541 : ขยายพื้นที่ของแผนกประถม
โรงเรียนได้ซื้อที่ดินบริเวณหลังโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถมเพิ่มเติมไปอีกจนติดแนวแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตกจำนวนประมาณ 10 ไร่ โดยได้ทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นสวนสุขภาพ สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล สวนป่า สวนสมุนไพร สวนเกษตร และได้ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเป็นที่รักษาพืชพันธุ์ พร้อมทั้งได้เริ่มก่อสร้าง/ ปรับปรุงอาคารสถานที่ต่างๆ โดยรอบโรงเรียนเพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน



พ.ศ.2542 ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม และแผนกประถม ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาประเภทสามัญศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน(สช.) พ.ศ.2542 มีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 – 2546 และทางโรงเรียนได้ออกแบบสอบถามครู นักเรียน ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า เพื่อทบทวนเป้าหมายและทิศทางของโรงเรียน และกำหนดวิสัยทัศน์ MC 2012 ได้บูรณาการกิจกรรมกับกระบวนการเรียนรู้ มีการจัดตั้งหน่วยงานอภิบาลเพื่อนำนักเรียนออกผสานชีวิตชุมชน ค้นหาขุมทรัพย์ในตน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งให้นักเรียนและบุคลากรเป็นบุคคลที่ "อิ่มเอิบ อบอุ่น อารี มีคุณธรรม คุณภาพสากล"
วงดุริยางค์ของโรงเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 1 แสนบาท จากการประกวดดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ (1st SYMPHONIC BAND ASIAN COMPETITION BANGKOK, THAILAND 1999 ) ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล


 
   พ.ศ. 2543 วงดุริยางค์และบุคลากรของโรงเรียนได้รับรางวัล
วงดุริยางค์ของโรงเรียนได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 1 แสนบาท จากการประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ (2nd ASIAN SYMPHONIC BAND COMPETITION YEAR 2000 BANGKOK, THAILAND) ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่และ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับโล่รางวัล "ผู้บริหารที่มีผลงานดีเด่น" ปีการศึกษา 2543 จากสำนักงานคณะกรรมการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ และครูโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ได้รับรางวัลครูแห่งชาติ 1 ท่าน ครูต้นแบบสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) 1 ท่าน และครูต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 8 ท่าน พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และบุคลากรของโรงเรียนได้รับรางวัล
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ (ครั้งที่ 2) และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก (5 โรงเรียนนำร่อง) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) มีระยะเวลา 5 ปีเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 - 2548
วงดุริยางค์ของโรงเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน การประกวดวง BIG BAND (JAZZ) นักเรียน แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านบาท จากการประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ (3rd ASIAN SYMPHONIC BAND COMPETITION BANGKOK, THAILAND 2001) ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ จัดโดยวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับเกียรติบัตร "ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพครู" ปีการศึกษา 2544 สาขาผู้บริหารสถานศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการคุรุสภา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และครูโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ได้รับรางวัลครูต้นแบบสำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) เพิ่มอีก 1 ท่าน และครูต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เพิ่มอีกจำนวน 25 ท่าน



 
   พ.ศ.2545 บุคลากรของโรงเรียนและโครงงานประเภททดลองได้รับรางวัล
นักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงงานประเภททดลอง เรื่อง ซิลิกอนไดออกไซด์ จากเปลือกข้าว และได้รับรางวัลชนะเลิศโครงงานประเภท สิ่งประดิษฐ์ เรื่อง CTS : Computer Timing Switch ในงานศิลปหัตถกรรม นักเรียนภาคเหนือ ครั้งที่ 55
ผู้อำนวยการโรงเรียนรับเกียรติบัตรเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุด" ปีการศึกษา 2545 จากสำนักงานคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ ผู้เรียนได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2545



 
พ.ศ.2546 บุคลากรของโรงเรียนและโครงงานอาชีพได้รับรางวัล
ผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับใบประกาศเกียรติคุณ และได้รับพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติ “บุคคลดีเด่น” สาขาผู้บริหารสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2546 และได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อรับพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติ มูลนิธิสมาน–คุณหญิงเบญจา แสงมลิ และได้รับการประกาศเกียรติคุณ เพื่อยกย่องให้เป็น "ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ" จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากนี้ ผู้เรียนได้รับรางวัลชนะเลิศวิชาคณิตศาสตร์เขตภาคเหนือและรองชนะเลิศ ประเทศไทย จากสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2546 ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย ประจำปีการศึกษา 2546 โดยได้รับเงินรางวัล 10,000.- บาท และโล่จาก ฯพณฯนายก-รัฐมนตรี ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการข้าวเหนียวคืนชีพ กรุงไทยยุววานิช ปีการศึกษา 2546 และได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2546



พ.ศ. 2547 ฉลอง 72 ปีโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยได้จัดงานฉลองครบรอบ 72 ปีแห่งการก่อตั้งโรงเรียน โรงเรียนได้ทบทวนและจัดทำธรรมนูญโรงเรียนฉบับปีการศึกษา 2548 - 2552 และเปิดสอนหลักสูตร English Program ทั้งสองแผนก
ครูโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ได้รับรางวัล ครูดีเด่นสมาพันธ์สมาคมผู้ปกครองและครูในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย 1 ท่าน ครูผู้นำปฏิรูปการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ 1 ท่าน ครูตัวอย่างประจำปี 2547 ด้านสัมพันธ์ชุมชน ชมรมส่งเสริมและพัฒนาสังคมไทย กรุงเทพฯ 1 ท่าน ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 โครงการประกวดสื่อการเรียนการสอนระดับประเทศ 1 ท่าน ครูที่ปรึกษาโครงงาน "ทองผำทองเตา" ชนะเลิศโครงการกรุงไทยยุววาณิช 1 ท่าน ครูที่ปรึกษาการแข่งขันความสามารถด้านการพูดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ท่าน ครูที่ปรึกษา “ชุมนุมนักเคมีรุ่นเยาว์” ชนะเลิศการประกวด กิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์-เครือซิเมนต์ไทย และที่ปรึกษาการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 1 1 ท่าน จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และครูที่ปรึกษานักเรียนที่เข้าแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2 จากสถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ท่าน
นอกจากนี้ ผู้เรียนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ "โครงงานทองผำทองเตา" ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สาขาชีวภาพ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และชุมนุมนักวิทยาศาสตร์ ได้รับเหรียญเงินจากการเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 1ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีและ สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัลนักเคมีรุ่นเยาว์ดีเด่น เป็นตัวแทนนักเรียนของภูมิภาคเอเชียร่วมศึกษาดูงาน ณ ประเทศเกาหลีใต้ ผ่านการเข้าร่วมการแข่งขันรอบที่ 1 คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกประจำปี 2547 ผ่านการเข้าร่วมการแข่งขันรอบที่ 1 สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าศึกษาดูงานในกลุ่ม APEC ณ ประเทศเกาหลี และผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์



พ.ศ. 2548 ก่อสร้างอาคารอันโตนีโอ และฉลอง 72 ปี การก่อตั้งโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้จัดงานกาลาดินเนอร์ เพื่อฉลอง 72 ปีแห่งการก่อตั้ง ณ หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร และมีการจัดงานวันรวมพลังเพื่อสังคมขึ้นเพื่อทำความสะอาดเมืองเชียงใหม่
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้ก่อสร้างอาคารอันโตนีโอ เพื่อรำลึกถึง ภราดาอันโตนีโอ มารีอา และมีการปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ทั้งสองแผนกให้สวยงาม เช่น ปรับปรุงหลังคาห้องประชุมใหญ่ ให้อากาศถ่ายเทดีขึ้น ขยายระเบียงอาคารกิจกรรม สร้างห้องน้ำชั้นล่างห้องประชุมใหญ่ และที่แผนกประถม มีการ สร้างศาลามารีย์ อาคารดุริยางค์ ปรับพื้นสนามบาสเกตบอล และปลูกหญ้าสนามฟุตบอล
มีการตั้งหน่วยงานประสานสัมพันธ์ศิษย์เก่า และครูอาวุโส เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร และจัดเก็บข้อมูลศิษย์เก่าไว้ให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นำทฤษฎีนีโอฮิวแมนนิสต์ เข้ามาบูรณาการในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีสมาธิอยู่ร่วมกันด้วยความรักและความเข้าใจกัน โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้รับการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบ 2 อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก โดยเฉลี่ยจากทุกมาตรฐาน และได้ผ่านการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย (BSG) ในระดับดีมาก โดยเฉลี่ยจากทุกมาตรฐาน
โรงเรียนประสบอุทกภัย 3 ครั้ง ติดต่อกัน คือครั้งที่ 1 วันที่ 14-16 สิงหาคม ครั้งที่ 2 วันที่ 20-22 กันยายน และครั้งที่ 3 วันที่ 29 กันยายน - 2 ตุลาคม ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ประมาณ 12 ล้านบาท และแผนกประถม ประมาณ 3 ล้านบาท
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 นางสาวริสา โอโกโนกิ สอบได้คะแนนรวมสูงสุดในการสอบโควตาภาคเหนือ เข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 นายเจษฎา ศิรินิรันดร์ สอบได้คะแนนรวมเป็นที่หนึ่งของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายเบญจพล พรหมาวิน ได้รับทุนรัฐบาลไทย (ทุน ก.พ.) ไปศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศอังกฤษ และคุณครูกรรณิการ์ ดวงจิระประภา ได้รับคัดเลือกให้เป็นครูดีเด่นของสมาพันธ์สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย



 
   พ.ศ. 2549 ได้รับการรับรองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผ่านการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจาก สมศ. รอบ 2
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) และการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบ 2 ปีการศึกษา 2549 – 2553
โรงเรียนได้จัดกิจกรรมฉลองความสัมพันธ์ ไทย - จีน ครบรอบ 30 ปี โดยได้รับความร่วมมือจาก Yuxi Teacher College มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน นำคณะนาฏศิลป์จีนมาแสดงเพื่อสร้างความสัมพันธ์ด้านมิตรภาพ ไทย - จีน อีกทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมระหว่างกัน



 
พ.ศ. 2550 ฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้จัดงานฉลองครบรอบ 75 ปีแห่งการก่อตั้ง ที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม เมื่อวันที่ 7 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทางโรงเรียนได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติขึ้น ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี พ.ศ.2551 บุคลากรและวงโยธวาทิตได้รับรางวัล ก่อสร้างอาคารและปรับปรุงลานอนุสาวรีย์นักบุญหลุยส์
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ก่อสร้างอาคารและปรับปรุงภูมิทัศน์พร้อมทั้งจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทำให้ ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในระดับต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ และชั้นเบญจมดิเรกคุณาภรณ์ ซึ่งมีครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน 68 ท่าน
จากการจัดงานฉลองครบรอบ 75 ปี การก่อตั้งโรงเรียน ทางโรงเรียนได้ดำเนินการบูรณะอนุสาวรีย์นักบุญหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต องค์อุปถัมภ์ ผู้ก่อตั้งคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ และได้จัดพิธีเปิดอนุสาวรีย์ท่านนักบุญหลุยส์อย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ ทางโรงเรียนได้จัดงานมอบรางวัล และเกียรติบัตร แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานนานปี โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับรางวัลดังกล่าวจำนวน 88 ท่าน
เนื่องในวโรกาส ปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระชนมายุครบ 81 พรรษา ครูลาวัลย์ พฤกษาธำรงกุล ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นครูผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2551 จากสำนักงาน สกสค. จังหวัดเชียงใหม่ และ ครูวิลาวัณย์ สุวรรณอัตถ์ ได้รับรางวัลครูดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา ของสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ม.จักรพงษ์ บุญตันจีน ได้รับคัดเลือกให้เป็นครูดีเด่น และ ม.พีรพงษ์ บัวเหลือง ได้รับรางวัลชมเชย ของสมาพันธ์สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
นักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เจ้าของผลงาน “โครงงานไม้อัดยุคใหม่ผลิตได้จากวัชพืช” โดย นายภีมเดช ประสิทธิ์วรเวทย์ นายมนภาส หะรารักษ์ และนายธนวรกฤต บางเขียว ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติในงาน Inter International and Engineering Fair Inter (ISEF) ครั้งที่ 95 ณ เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 9 -17 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภท Special Awards จากสมาคม Sigma Xi, The Scientific Research Society 2008 ซึ่งเป็นโครงงานประเภททีม ที่มีผลงานวิจัยยอดเยี่ยมในการบูรณาการสหวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
วงดุริยางค์โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยร่วมกับโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท ข การประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2552 รางวัลชนะเลิศนั่งบรรเลงยอดเยี่ยม และรางวัลคฑากรยอดเยี่ยมโดยนายพิริยะ เจ็งศรีวงค์
โรงเรียนได้ก่อสร้างอาคาร Saint Mary ซึ่งเป็นอาคารกิจกรรมและโดยความร่วมมือกับ Yuxi Normal University ได้จัดการแสดงนาฏศิลป์จีนของคณะอาจารย์และนักศึกษา สาขาศิลปะการแสดง จาก Yuxi Normal University มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 5 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย กับ Yuxi Normal University นำรายได้สมทบทุนสร้างอาคาร Saint Mary ของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และเป็นการสืบสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนชาวเชียงใหม่กับพี่น้องชาวจีนของทั้ง 2 ประเทศ



พ.ศ.2552 เสกอาคาร Saint Mary
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน จัดพิธีเสกอาคาร Saint Mary และปรับปรุงภูมิทัศน์พร้อมทั้งจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทำให้ ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในระดับต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ และชั้นเบญจมดิเรกคุณาภรณ์ ซึ่งมีครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน 20 ท่าน
นอกจากนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับมอบรางวัลและเกียรติบัตรในการปฏิบัติงานนานปี จำนวน 3 คน ครูประทุมวรรณ ปัญญาเลิศ ได้รับรางวัลครูดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา ของสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ ครูพรสวรรค์ แก้ววงศ์ ครูผู้สอนสังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้รับเกียรติบัตรครูดีเด่นด้านความมุ่งมั่นและอุทิศตนในการช่วยเหลือนักเรียนด้านวิชาการ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เนื่องในวันครู ครูวิลาวัลย์ พฤกษาธำรงกุล ครูผู้สอนสังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ประจำปี 2552 ครูอาภรณ์ มังคลและมาสเตอร์เฉลิมพล จิตติวัฒนพงษ์ ได้รับรางวัลผลงานครูผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2552 ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ (สกสค.)
นักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการและกีฬา ทำให้ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ ในระดับประเทศมากมาย เด็กชายธีรวัฒน์ ลิ่มลังการณ์ ได้รับรางวัล 3 เหรียญเงินจากการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิค เอเชีย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น Asia Inter-cities Teenagers Mathematics Olympiad (AITMO 2009) ณ ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ยังได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทย แข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 7 (7th IJSO) เมืองบูจา ประเทศไซบีเรีย ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับประเทศ การแข่งขันความสามารถทางคณิตศาสตร์ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2552และได้รับรางวัลเหรียญทองระดับประเทศ การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ในงานศิลปหัตถกรรม ระดับประเทศ
นายอธิราช ภูมมะภูติ นายชวกร ศรีเงินยวง และนายศุภวิชญ์ ใบสุขันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ในการแข่งขัน Inter - city Robotic Olympial 2009 ประเภทหุ่นยนต์บังคับมือ Third Runner-up of Robot Combat ในระดับ Secondary Schools Section ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ระหว่างวันที่ 23 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552
นายศุภนร ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ชั้น ม.6/12 เป็นตัวแทนเยาวชนทีมชาติไทยไปร่วมการแข่งขันกีฬา เยาวชนโลกที่ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี ได้รับรางวัลชนะเลิศกระโดดไกลเหรียญทอง สถิติ 7.65 เมตร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2552
เด็กชายชวิน นิพพิทาวาสิน รางวัลเยาวชนยอดเยี่ยมประเภทโครงงานเดี่ยวและรางวัลชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภท โครงงานกลุ่ม ค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชน SCG Sci-Camp รุ่นที่ 20
นายสารัตถะ เพชรไชย รางวัลอันดับที่ 2 ของภาคเหนือ และติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศ การแข่งขันเพื่อสอบรับใบรับรองจากสหภาพยุโรป ด้านการใช้ภาษาฝรั่งเศส (DELF)