Photo Album Montfort Gallery


พิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2551

พิธีไหว้ครู พิธีแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนและประธานสี ประจำปีการศึกษา 2551
ณ ห้องประชุมใหญ่ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
วันที่ 12 มิถุนายน 2551

?ครู? มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า ?หนัก? อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น ?ครู? จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย

ในชีวิตของคนๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน ?ครูคนแรก? ของเราแล้ว การที่เด็กๆจะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ?ครู? ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น ?ครู? จึงเป็นบุคคลสำคัญเป็นที่สองรองไปจากบิดามารดาที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน เพราะหากโลกนี้ไม่มีผู้ที่ทำหน้าที่เป็น ?ครู? แล้ว สรรพวิชาต่างๆ ก็คงสูญหายไปจากพิภพ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ทรงเป็น ?ครูของโลก? พระองค์หนึ่ง

ด้วยเหตุนี้เอง ?การบูชาครู? หรือ ?การไหว้ครู? จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต

ในความหมายของ ?การไหว้ครู? ก็คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่าท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ ซึ่งการไหว้ครูนี้นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไปแล้ว การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ และศิษย์เองก็จะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด เกิดมั่นใจว่าตนจะมีผู้คุ้มครองดูแล สั่งสอนให้ไปสู่หนทางแห่งความดีงามและความเจริญก้าวหน้าแน่นอน

โดยทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงพิธีไหว้ครู เรามักจะหมายถึง การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในช่วงเปิดภาคการศึกษา โดยในสมัยโบราณมักจะใช้ดอกมะเขือ ดอกเข็ม หญ้าแพรก และข้าวตอกเป็นเครื่องบูชาครู เพราะเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายและมีความหมายที่ดี กล่าวคือ ดอกมะเขือที่งอกงามได้อย่างรวดเร็ว ใช้เป็นสัญลักษณ์เสมือนให้เกิดปัญญาความคิดที่พร้อมจะรับความรู้ได้อย่างรวดเร็ว หญ้าแพรก เปรียบเสมือนเด็กที่มาเล่าเรียน เมื่อได้รับการสั่งสอนก็พร้อมจะเรียนรู้ เหมือนดังหญ้าแพรกที่แม้บางครั้งจะเหี่ยวเฉาไป แต่เมื่อใดที่ได้รับน้ำก็พร้อมจะเติบโตทันที ส่วนดอกเข็ม คือ การขอให้มีสติปัญญาแหลมคมดุจดอกเข็ม และข้าวตอกเสมือนหนึ่งให้มีปัญญาความคิดแตกฉาน เพิ่มพูนอย่างรวดเร็วเหมือนข้าวตอกเมื่อได้รับความร้อน

ปัจจุบันการหาดอกเข็ม ดอกมะเขือ และหญ้าแพรก อาจจะกลายเป็นสิ่งที่หายากขึ้น ดังนั้น เครื่องบูชาครูจึงมีการประยุกต์ใช้เป็นพานพุ่ม หรือดอกไม้อื่นๆ แทน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ปรับเปลี่ยนไปได้ตามยุคสมัย แต่ที่เป็นสาระสำคัญของการไหว้ครูก็คือ การแสดงถึงความเคารพ และความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้ให้สติปัญญาแก่เรานั่นเอง โดยทั่วไป พิธีไหว้ครูมักจะจัดในวันพฤหัสบดี ด้วยถือว่าพระพฤหัสเป็นเทพที่ส่งเสริมวิทยาการและความเฉลียวฉลาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติของครู จึงถือเอาวันนี้เป็นวันไหว้ครู เพื่อความเป็นสิริมงคล

ในยุคปัจจุบันที่กระแสบริโภคนิยม และระบบทุนนิยมกำลังครอบงำทั้งโลก หลายๆ คน อาจจะมองว่าอาชีพ ?ครู?เป็นเพียงผู้รับจ้างสอนหนังสือ ส่วนครูเองก็ตกอยู่ในภาวะท้อแท้ ถดถอย ขาดกำลังใจจากระบบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน แต่อย่างไรก็ดี ยังมี ?ครู? อีกจำนวนไม่น้อยทั้งในและนอกระบบการศึกษา ที่ยังมีจิตวิญญาณของการเป็น ?ครู? ทำหน้าที่สอนสั่ง พร้อมถ่ายทอดวิชาความรู้อยู่ในสังคมอย่างต่อเนื่อง และแม้ ?พิธีไหว้ครู? จะกลายเป็นเพียงพิธีกรรมหนึ่งในการแสดงความเคารพนบนอบ ไม่ว่าจะเป็นอย่างทางการหรือไม่ก็ตาม แต่เชื่อว่าพิธีดังกล่าวก็ได้มีส่วนเชื่อมโยงสายใยแห่งความผูกพันระหว่าง?ผู้ให้? และ ?ผู้รับ? คือ ครูและศิษย์ อย่างแน่นอน รวมทั้งยังช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีๆต่อกันด้วย

โลกที่ไร้พรมแดนและเทคโนโลยีที่ก้าวไกลเช่นปัจจุบัน แม้เราจะสามารถหาวิชาความรู้ได้เองจากหนังสือ เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่ออิเลคทรอนิคส์ต่างๆ ฯลฯ แต่เชื่อว่าคนเราก็ยังปรารถนาจะได้ ?ครูที่เป็นคน? ซึ่งสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเรามากกว่า ?ครูที่ไร้ชีวิต? เพราะโดยแท้จริงแล้ว หน้าที่ของครู มิเพียงเติมเต็ม ?วิชาความรู้? แก่เราเพื่อประกอบสัมมาชีพเท่านั้น แต่ท่านยังได้จุด ?ประทีปปัญญา? ส่องทางในการดำเนินชีวิตแก่ศิษย์ด้วย
ประชาสัมพันธ์ [2015] [2008-06-13 07:41:12]

ชมภาพแบบ Slideshow ที่นี่
(อาจใช้เวลาในการโหลด ในกรณีที่มีภาพจำนวนมาก)