Photo Album Montfort Gallery


ภาพการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นักศึกษาชิง ถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 30 ประจำปี 2554


วงโยธวาทิตมงฟอร์ต-เรยีนาฯ เจ๋ง !!!
คว้าแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 30
รับรางวัลถ้วยพระราชทานฯ ประเภท ก

วงโยธวาทิตโรงเรียนมงฟอร์ต-เรยีชาเชลีวิทยาลัย สร้างชื่อให้เชียงใหม่หลังขับเคี่ยวกับทีมระดับใหญ่แชมป์หลายสมัย อย่างโรงเรียนอรรถวิทย์พาณิชยการ สุดท้ายเด็กเชียงใหม่ได้รับคะแนนสูงสุด คว้ารางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภท ก. ครองแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 30 รับถ้วยพระราชทานประเภท ก.ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นการแข่งขันที่สุดยอดที่สุดในระดับนักเรียนชั้นประถม-มัธยม ที่ยกระดับขึ้นไปแข่งเทียบชั้นกับวงโยธวาทิตรุ่นใหญ่ และเป็นแชมป์หลายสมัยอย่างโรงเรียนอรรถวิทย์พาณิชยการได้สำเร็จ สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนเชียงใหม่ทั้งจังหวัด
ณ สนามศุภชลาศัย นายศุภชัย ภู่งาม องคมนตรี ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นองค์ประธานในพิธีปิดและมอบถ้วยพระราชทานการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 30 ประจำปี 2554 ที่มีการจัดแข่งขันในระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม 2554 ณ อาคารกีฬานิมิบุตร และสนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพฯ โดยมีนายสมบัติ คุรุพันธ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวรายงาน
กรมพลศึกษา ได้ดำเนินการจัดประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานฯ เนื่องในงานฉลองวันเด็กแห่งชาติอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาถึงปีนี้ เป็นครั้งที่ 30 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านดนตรี ได้แสดงศักยภาพทางดนตรีเต็มความสามารถ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางด้านดนตรี เช่น ครูผู้สอนดนตรีและนักดนตรีในระดับเยาวชน ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยใช้กิจกรรมดนตรีช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น ความมีระเบียบวินัย ความสามัคคี ความวิริยะอุตสาหะ ความรับผิดชอบการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี และเพื่อพัฒนามาตรฐานวงโยธวาทิตให้ทัดเทียมอารยประเทศ ตลอดทั้งเพิ่มประสิทธิภาพศักยภาพคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนไทย สำหรับในปีนี้มีวงโยธวาทิตจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมการประกวด จำนวน 52 วง มีจำนวนนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมการประกวดกว่า 6,000 คน แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 5 ประเภท ได้แก่
ประเภท ก คือ การประกวดในรูปแบบของการนั่งบรรเลง (Concert) เดินแถวและแปรขบวน (Marching and Display) ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีผู้บรรเลงและผู้แสดงประกอบ จำนวน 50-128 คน มีจำนวน 2 วง
ประเภท ข คือ การประกวดในรูปแบบของการนั่งบรรเลง เดินแถว และแปรขบวน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้บรรเลงและผู้แสดงประกอบ จำนวน 40-86 คน มีจำนวน 4 วง
ประเภท ค คือ การประกวดในรูปแบบของการเดินแถวและแปรขบวน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้บรรเลง จำนวน 40-86 คน ได้คัดเลือกจากภูมิภาค 9 เขต จำนวน 33 วง
ประเภทนั่งบรรเลง คือ การประกวดในรูปแบบของการนั่งบรรเลง ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้บรรเลง จำนวน 40-70 คน มีจำนวน 6 วง ประเภทประถมศึกษา รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จำนวน 7 วง

โดยผลการประกวดวงโยธวาทิตที่ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน ดังนี้

ประเภท ก รางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ชนะเลิศ ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ร่วมกับ โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนอรรถวิทย์พาณิชยการ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ประเภท ข รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- ชนะเลิศ ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนสตรีวัดระฆัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม จังหวัดสมุทรปราการ

ประเภท ค รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ชนะเลิศ ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
- รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนโยธินบูรณะ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ประเภทนั่งบรรเลง รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ชนะเลิศ ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนหอวัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยาลัย จังหวัดปทุมธานี
- รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ประเภทระดับประถมศึกษา รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
- ชนะเลิศ ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนสวนลุมพินี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
- รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ วงโยธวาทิตโรงเรียนสากลศึกษา จังหวัดนนทบุรี

ครูผู้ควบคุมดูแล (โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม)
1. นายศุภกิจ สุบินมิตร์
2. นายพิพัฒน์ ทักษอุดม

ครูผู้ควบคุมดูแลร่วม (โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม)
1. นายชุมพล ชาญณรงค์
2. นายเสริมศักดิ์ แก้วกัน
3. นายฉัตรชัย กาญจนะวรรธนะ
4. นายเกษม ด้วงสน
5. นายพชกร บุญพุทธารักษา
6. นายธวัชชัย ใจมุข
7. นายสมภพ จันทนาคม
8. นายอุดมศักดิ์ ชวชาติ
9. นายกระสรวล อินทรสมบัติ

รายชื่อนักเรียนดุริยางค์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

- เด็กชายบุญเจริญ เจริญบุญ ชั้น ม.1/5 Color Guard 23
- เด็กชายสิรวิชญ์ จิตติวัฒนพงศ์ ชั้น ม.2/2 Trumpet
- เด็กชายจิรภัทร ศุภกุลนิธิไพศาล ชั้น ม.2/3 Horn
- เด็กชายกฤตนู ใจแก้ว ชั้น ม.2/5 Euphonium
- เด็กชายณัฏฐฉัตร สถิตเมธากุล ชั้น ม.2/6 Horn
- เด็กชายกีรติ พาลี ชั้น ม.2/6 Pit Percussion / Cym
- นายชุมศิลป์ รักในศิล ชั้น ม3/1 Pit Percussion
- นายพีรพัทธ์ เนื่องเจริญถาวร ชั้น ม.3/1 Bass Drum
- นายศิวกร จิตร์มุ่ง ชั้น ม.3/1 Euphonium
- นายพิษุทธิ์ วิชัยพฤกษ์ ชั้น ม.3/1 Euphonium
- นายชนน พัฒนประเสริฐ ชั้น ม.3/1 Trumpet
- เด็กชายธีรายุทธ์ ชิบาตะ ชั้น ม.3/2 Pit Percussion / Cym
- นายภัทรดนัย คำบุญปั๋น ชั้น ม.3/2 Pit Percussion
- เด็กชายถิรธรรม เกษมเรืองกิจ ชั้น ม.3/2 Bass Drum
- เด็กชายพชร อานันทนะ ชั้น ม.3/2 Bass Drum
- นายพีรพล สัยเกตุ ชั้น ม.3/2 Pit Percussion
- เด็กชายนฤเบศร์ กันทะสะวะ ชั้น ม.3/3 Bass Drum
- นายชฎิล พาลี ชั้น ม.3/3 Trombone
- เด็กชายณัฐเมธี อาศนะ ชั้น ม.3/3 Tuba
- นายสุทธิชาติ ใสสา ชั้น ม.3/3 Quad Tom
- นายภิรายุส สุวรรณศรี ชั้น ม.3/3 Color Guard 3
- นายณัฐนคร อินต๊ะยศ ชั้น ม.3/4 Trombone
- นายชยณัฐ พริกบุญจันทร์ ชั้น ม.3/4 Snare Drum
- นายภูวดล จันทรเกษม ชั้น ม.3/5 Trumpet
- นายวรายุทธ์ นันใจป้อ ชั้น ม.3/5 Color Guard 1
- นายสารกฤษฏิ์ ศรีฉันทะมิตร ชั้น ม.3/5 Color Guard 2
- เด็กชายปณที วัธถือธรรม ชั้น ม.3/6 Horn
- นายภูมิพัฒน์ รัตนธรรม ชั้น ม.3/6 Tuba
- นายกันตพัฒน์ เอ็งไพบูลย์ ชั้น ม.3/7 Trumpet / Oboe
- นายฉัตรปพน ชุ่มสวัสดิ์ ชั้น ม.3/7 Trumpet
- นายกัญจน์ หวังพิริยะพาณิช ชั้น ม.4/4 Clarinet
- นายสรัช วุฒิรัตน์ ชั้น ม.4/5 rombone
- นายประวันวิทย์ ศรีประภาการ ชั้น ม.4/6 Tuba
- นายน่าน ขวัญอ้นอินทร์ ชั้น ม.4/7 Flute
- นายบรรณวิชญ์ สุภิสิงห์ ชั้น ม.4/7 Tuba
- นายรุจดนัย ศรีสุข ชั้น ม.4/7 Euphonium
- นายณภัทร ผ่องศรี ชั้น ม.4/11 Clarinet
- นายปราชญานนท์ ยุงกลาง ชั้น ม.4/11 Clarinet
- นายภูบดินทร์ วุฒิการณ์ ชั้น ม.4/11 Trombone
- นายชัชนิณทร์ เกตุเกล้า ชั้น ม.4/11 Trombone
- นายสรัล มุกลีมาศ ชั้น ม.4/11 Snare Drum
- นายชาญวิทย์ เรือนแก้ว ชั้น ม.4/11 Trumpet / Bs Cl.
- นายพิสิฐ สุจริตธรรม ชั้น ม.4/11 Bass Drum
- นายสิรภพ โพธิ์ชาญ ชั้น ม.4/11 Quad Tom
- นายกฤตภาส จันทร์สกุล ชั้น ม.4/11 Alto Saxophone
- นายกันตพัฒน์ สิทธิศรีจันทร์ ชั้น ม.4/11 Tenor Saxophone
- นายรัฐปรัชญ์ ยานะนวล ชั้น ม.4/11 Pit Percussion
- นายอานนท์ ประทุมศรี ชั่น ม.4/11 Pit Percussion
- นายอภิวัฒน์ ชื่นวุฒิ ชั้น ม.4/11 Color Guard 24
- นายปกรณ์ ปาระโมงค์ ชั้น ม.4/11 Alto Saxophone
- นายพิชญ์ นานาวิชีต ชั้น ม.4/11 Flute
- นายพรมนัส สุจา ชั่น ม.4/11 Trombone
- นายธนาวัฒน์ สิทธิสันติกุล ชั้น ม.5/4 Tuba
- นายชัชวาล เตชะเพิ่มพล ชั้น ม.5/5 Trombone / Bari
- นายธนดล ประวัง ชั้น ม.5/9 Tenor Saxophone / pit
- นางสาวพิมพกานต์ เกิดศิริ ชั้น ม.5/9 Clarinet
- นางสาวลลิตา รางแดง ชั้น ม.5/9 Clarinet
- นายพากร พานอ่อง ชั้น ม.6/7 Pit Percussion
- นายพีรดนย์ ใจแก้ว ชั้น ม.6/9 Pit Percussion / Cym
- นายมงคล บุญแสน ชั้น ม.6/10 Snare Drum
- นายธนากร คมแปงยศ ชั้น ม.6/11 Baritone
- นายชยานนท์ ชุ่มสวัสดิ์ ชั้น ม.6/11 Snare Drum
- นายพงศกร ฟูเต็มวงศ์ ชั้น ม.6/11 Color Guard 25
- นางสาวศศิธร เอี่ยมศศิรัตน์ ชั้น ม.6/11 Color Guard 26
งานประชาสัมพันธ์-งานสัมพันธ์ชุมชน [4909] [2011-01-20 15:19:41]

ชมภาพแบบ Slideshow ที่นี่
(อาจใช้เวลาในการโหลด ในกรณีที่มีภาพจำนวนมาก)